โรคกระเพาะ คืออะไร
โรคกระเพาะ คืออะไร
โรคกระเพาะ หมายถึง กลุ่มของอาการที่มีสาเหตุจากการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ถ้ามีอาการทันทีและ เป็นในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์เรียกว่า โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลันแต่หากมีอาการนานเป็นเดือนหรือเป็นปีเรียกว่าโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคกระเพาะ
- ติดเชื้อแบคทีเรีย “เอช ไพโลไร”
- กินยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ibuprofen, naproxen
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารตัวเอง
- มีการเจ็บป่วยรุนแรงหรือภาวะวิกฤตที่เป็นที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
- อาการของโรคกระเพาะ
โรคกระเพาะอักเสบมักไม่มีอาการ อาการมักเกิดจากมีภาวะอื่นเกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้เกิดอาการเหล่านี้
- ปวดท้อง ส่วนบน
- ท้องอืดหรือท้องเฟ้อ แม้จะรับประทานอาหาร เพียงเล็กน้อย
- ความอยากอาหารลดลง
- คลื่นไส้อาเจียน
- อาเจียนมีเลือด หรือถ่ายอุจจาระสีดำ
- รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากมีภาวะโลหิตจาง
การป้องกัน
สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่ซื้อยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs กินเอง
- การลดความเครียด ด้วยเทคนิคการผ่อนคลายต่างๆ ตัวอย่างเช่น โยคะ ไทชิ และการทำสมาธิ
การตรวจวินิจฉัย
แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน โดยแพทย์จะสอดท่อขนาดเล็กที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลายท่อ ผ่านจากปากลงไปในกระเพาะอาหาร แพทย์จะมองเห็นด้านในของ กระเพาะอาหาร และแพทย์อาจเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเล็กๆจากเยื่อบุกระเพาะอาหาร เพื่อนำไปตรวจต่อไปด้วยกล้องจุลทรรศน์
การทดสอบ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ เอช ไพโลไร ซี่งทำได้โดย
- การตรวจเลือด
- การทดสอบ ลมหายใจ หลังจากดื่มของเหลวพิเศษเพื่อการทดสอบ
- การทดสอบ ตัวอย่างจากกระเพาะอาหาร
- กลืนแบเรียม แล้ว เอกซเรย์ ดูสารแบเรียม ที่เคลือบผิวกระเพาะอาหาร
- การตรวจเลือด เพื่อดูภาวะโลหิตจาง
- การรักษา
- การรักษาขึ้นกับสาเหตุของการเกิดโรค
ถ้าเกิดจากการกินยากลุ่ม NSAIDs แพทย์จะให้หยุดรับประทานยาเหล่านั้น
ถ้าเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ก็ต้องหยุดดื่ม
ถ้าเกิดจากการติดเชื้อ เอชไพโลไร แพทย์จะให้ยา รับประทาน 2 สัปดาห์
แพทย์อาจให้ยาลด หรือยับยั้งกรดในกระเพาะอาหารร่วมด้วย
สิ่งสำคัญ
อาการที่บ่งบอกว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึ่งควรไปพบแพทย์ทันที
- หายใจถี่
- อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม หรือหมดสติ
- อาเจียนเป็นเลือดสด
- อุจจาระสีดำเละเหลว
- อ่อนเพลียมาก
- ซีด
การรักษาและการดูแลตนเอง
การรับกระทานยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ได้แก่
• รับประทานยาต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
• รับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ
• รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
• รับประทานอาหารในปริมาณที่ไม่มากเกินไป
• งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน น้ำอัดลม
• หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง
• ทุกครั้งที่รับประทานอาหารควรเคี้ยวให้ละเอียด
• หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่เสตอรอยด์ ยาสเตอรอยด์ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งที่ใช้ยา
• หลีกเลี่ยงความเครียด ความกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม