การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
การตรวจค้นหามะเร็ง ระยะเริ่มแรก เป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่มี อาการปกติ เพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการรักษา เนื่อง จากโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก หรือยิ่งพบโรคได้ เร็วเพียงใด ชีวิตก็ปลอดภัยมากขึ้นเพียงนั้น การตรวจค้นหามะเร็งระยะ เริ่มแรก มีหลักการดังนี้ 1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด 2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ 1. การสอบถามประวัติโดย ละเอียด มีความสำคัญเนื่องจาก อาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น 1.1 ประวัติครอบครัว มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับ พันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมี ความโน้มเอียงที่จะเกิดในพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น 1.2 ประวัติสิ่งแวดล้อม มี ข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิด ได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น 1.3ประวัติ ส่วนตัว อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคลก็อาจเป็นเหตุสนับสนุน ให้เกิดโรคมะเร็ง บางอย่าง เช่น – ผู้ที่สูบบุรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่ – ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ , มีบุตรมากจะเป็น มะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน – ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก – เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง – หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ – การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดไปจากปกติ 1.4 ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ – เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น – ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ – เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย 2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด ช่วย ในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ในทางปฏิบัติ แพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อตรวจ หามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ ดังนี้ – ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน – ศีรษะ และคอ – ทรวงอก และเต้านม – ท้อง – อวัยวะเพศ – ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง 3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่น ๆ 3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษา โรคมะเร็งด้วย ได้แก่ – การตรวจเม็ดเลือด – การตรวจปัสสาวะ , อุจจาระ – การตรวจเลือดทางชีวเคมี 3.2 การตรวจเอ๊กซเรย์ มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซี่งมีวิธีการหลายอย่างเช่น – การเอ๊กซเรย์ปอด เป็นวิธีการพื้นฐาน อย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ – การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร ทำในราย ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร – การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม เป็น การตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม 3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืน , ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าว จะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ,สมอง , ตับ , กระดูก เป็นต้น 3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะ บางอย่าง เช่นหลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น 3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหา มะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่าง ๆ เช่น – การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก , เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น – เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ 3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา เป็น การตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัด เนื้อเยื่อจากบริเวณที่ ่สงสัย ส่งตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์ อนึ่ง โรคมะเร็งอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางอวัยวะตรวจได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่า มะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสนใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ ประโยชน์ของการตรวจค้นหา มะเร็งระยะเริ่มแรก การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นมี ประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้น การรักษา ได้ผลดีมาก และเป็นการป้องกัน มิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งจะเป็น อันตรายแก่ชีวิตได้